โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคติดต่อที่ไม่เรื้อรัง แต่หากเราไม่รีบรักษาอย่างถูกวิธีหรือดูแลตัวเองอย่างดีแล้วล่ะก็ จะส่งผลให้มีโรคแทรกซ้อนต่างๆที่เป็นอันตรายต่อร่างกายตามมา เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ โรคไตเสื่อม โรคไตวาย เป็นต้น
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร ว่าเราเป็นโรคความดันโลหิตสูง?
โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่ไม่ส่งสัญญาณเตือน และไม่ค่อยแสดงความผิดปกติให้เห็น หลายคนจึงไม่ทราบว่าตัวเองกำลังเป็นโรคนี้ ยกเว้นผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงอย่างรุนแรง จะแสดงอาการดังต่อไปนี้ เลือดกำเกาไหล ปวดศีรษะอย่างรุนแรง หายใจไม่สะดวก เหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอก ตาพร่ามัว
ซึ่งแต่ละคนก็จะมีอาการที่แตกต่างกันออกไป ในเมื่อเป็นโรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่รักษาไม่หาย แต่ไม่ใช่ว่าจะดูแลไม่ได้ วันนี้เราจะพาทุกคนมาพบกับวิธีการดูแลตัวเอง หลังรู้ว่าเป็นโรคความดันโลหิต
1.การคุมอาหาร
เรื่องของอาหารการกิน เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอันดับต้นๆ เพราะเป็นตัวที่จะชี้วัดเลยว่าเราจะควบคุมโรคนี้เพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้แค่ไหน เพราะฉะนั้นการลดหรืองดอาหารพวก หวาน มัน เค็ม อาหารหมักดอง อาหารตากแห้ง จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ แล้วหันมารับประทานผักและผลไม้ในปริมาณที่เหมาะสมแทน
2.การออกกำลังกาย
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายมีการแอคทีฟ ไม่จำเป็นต้องออกกำลังกายหนักมาก หรือถึงกับต้องไปเข้าฟิตเนส เพื่อแค่ออกกำลังกายเบาๆวันละครึ่งชั่วโมง หรือ 3 วันต่อสัปดาห์ก็ได้เช่นกัน
3.การงดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
จริงอยู่ที่สามารถสูบบุหรี่ได้บ้างอาทิตย์ละ 3 วัน และสามารถดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้วันละไม่เกิน 2 แก้ว และไม่เกิน 3 วันต่อสัปดาห์ แต่ก็ยังถือเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอยู่ดี เพราะการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและระดับความดันโลหิตของเราอีกด้วย
4.การรับประทานยา
รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ และไม่ควรหยุดยาเอง และอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างเคร่งครัด แต่การทานยามากเกินไป ติดต่อกันเป็นเวลานานก็ไม่ได้ส่งผลดีต่อสุขภาพของเราสักเท่าไหร่ เพราะฉะนั้นควรใช้ยาอย่างระมัดระวังที่สุด
4 วิธีที่กล่าวมานี้ หากเราสามารถปฏิบัติตามได้อย่างเคร่งครัด ก็คงจะหมดกังวลในเรื่องของภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่างๆซึ่งส่งผลให้เสียชีวิตได้ นอกจากนั้นไม่ว่าเราจะเป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือไม่ได้เป็นก็ควรปฏิบัติตาม 4 ข้อดังกล่าว เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงหรือลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะความดันโลหิตสูงนั่นเอง